คณะกรรมการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จังหวัดนครสวรรค์ ได้ดำเนินการสรรหาและคัดเลือกครูผ้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี จังหวัดนครสวรรค์ เสร็จสิ้นตามขั้นตอนแล้ว จึงประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตามสัดส่วน ของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2 ราย ดังนี้

ประกาศคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์

เรื่อง การขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ กรณีการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้

ในบัญชีอื่นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

Attachments:
Download this file (ประกาศแผน รถตู้.pdf)ประกาศแผน รถตู้.pdf[ ]262 kB436 Downloads

ประกาศตำแหน่งว่างผู้บริหารสถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรับย้ายปี 2565 เพิ่มเติม

Attachments:
Download this file (สพป.นว.1.pdf)สพป.นว.1.pdf[ ]823 kB363 Downloads
Download this file (สพป.นว.2.pdf)สพป.นว.2.pdf[ ]307 kB380 Downloads
Download this file (สพป.นว.3.pdf)สพป.นว.3.pdf[ ]7896 kB388 Downloads
Download this file (สพม.นว.pdf)สพม.นว.pdf[ ]7268 kB432 Downloads

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 2565

OIT  รายละเอียด กลุ่ม การดำเนินการ
OIT-1 โครงสร้าง นโยบายและแผน
OIT-2 ข้อมูลผู้บริหาร นโยบายและแผน
OIT-3 หน้าที่และอำนาจ นโยบายและแผน
OIT-4 แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน นโยบายและแผน
OIT-5 ข้อมูลการติดต่อ นโยบายและแผน
OIT-6

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง

บริหารงานบุคคล
OIT-7 ข่าวประชาสัมพันธ์ อำนวยการ
OIT-8

Q&A

นโยบายและแผน
OIT-9

Social Network

นโยบายและแผน
OIT-10

แผนดำเนินงานประจำปี

นโยบายและแผน
OIT-11

รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ 2565

นโยบายและแผน
OIT-12

รายงานผลการดำเนินงานประจำปี

นโยบายและแผน

OIT-13

คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน

กลุ่มอำนวยการ
OIT-14

แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2565

นโยบายและแผน
OIT-15

รายงานการกำกับ ติดตามการใช้จ่าย

งบประมาณประจำปี รอบ ๖ เดือน 

ปีงบประมาณ2565

นโยบายและแผน
OIT-16

รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี

นโยบายและแผน
OIT-17

แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ

อำนวยการ
OIT-18

ประกาศต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง

หรือการจัดหาพัสดุ

อำนวยการ
OIT-19

สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน

อำนวยการ
OIT-20

รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี

อำนวยการ
OIT-21

นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

บริหารงานบุคคล
OIT-22

การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร

ทรัพยากรบุคคล 

บริหารงานบุคคล
OIT-23

หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

บริหารงานบุคคล

OIT-24

รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากร

บุคคลประจำปี

บริหารงานบุคคล

OIT-25

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

บริหารงานบุคคล
OIT-26

ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ

บริหารงานบุคคล
OIT-27

ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต

และประพฤติมิชอบประจำปี

บริหารงานบุคคล

OIT-28

ช่องทางการรับฟังความคิดเห็น

กลุ่มนโบายและแผน

OIT-29

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

กลุ่มนโยบายและแผน

OIT-30

เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร

นิเทศ ฯ ดำเนินการแล้ว
OIT-31

การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร

นิเทศ ฯ
OIT-32

การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี

นิเทศ ฯ
OIT-33

การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต

นิเทศ ฯ
OIT-34

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

นิเทศ ฯ
OIT-35 แผนปฏิบัติการป้องกันทุจริต นิเทศ ฯ
OIT-36

รายงานการกำกับ ติดตามการดำเนินการ

ป้องกันการทุจริต ประจำปี รอบ ๖ เดือน

นิเทศ ฯ

OIT-37

รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี

นิเทศ ฯ
OIT-38

มาตรการส่งเสริม คุณธรรม

และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

นิเทศ ฯ
OIT-39

การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรม

และความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

นิเทศ ฯ

แนวทางในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อนปีการศึกษา 2565 เทอม 1

ให้หน่วยงาน/โรงเรียนดำเนินการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อน  ดังนี้

  1. เข้าเวบไซต์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์  http://www.nswpeo.go.th
  2. ดาวน์โหลดรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน ที่หัวข้อ ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อนปีการศึกษา 2565 เทอม 1 (ดาวโหลดลงเครื่องตนเองเป็นไฟล์ Excel)
  3. ตรวจสอบนักเรียนซ้ำซ้อนและระบุผลการตรวจสอบในฟิวล์ “ผลการตรวจสอบใน Excel ดังนี้

                 01 : พบ เรียนปกติ

                 02 : พบ พักการเรียน

                 03 : พบ นักเรียนโครงการ

                 04  : ไม่พบ เนื่องจากไม่พบตัว

                 05  : ไม่พบ เนื่องจากจบการศึกษา

                 06  : ไม่พบ เนื่องจากย้ายโรงเรียนหรือลาออก

                 07  : ไม่พบ เนื่องจากติดต่อไม่ได้

                 08  : ไม่พบ เนื่องจากเสียชีวิต

                 99  : ไม่พบ กรณีอื่น ๆ   หากเลือกกรณี อื่นๆ ให้ใส่สาเหตุในฟิวล์ “สาเหตุที่ไม่พบเฉพาะอื่นๆ

  1. ส่งไฟล์ excel คืนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์

                   ทาง Email.  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ภายในวันที่ 19 สิงหาคม 2565

หากมีข้อสงสัย ติดต่อ-สอบถาม

โทร 063-2465265 นายเอกราช โฉมแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๐ เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๕ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ

(๓) สั่งการ กำกับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

(๔) จัดระบบส่งเสริม และประสานงานเครื่อข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ

(๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และ อกศจ.

(๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

(๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา

(๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน

(๑๑) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่าง ๆ ในจังหวัด

 

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้แบ่งหน่วยงานภายในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดออกเป็น ๘ กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีหน้าที่และอำนาจดังนี้

๑. กลุ่มอำนวยการ

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) รับผิดชอบคำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานธุรการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดรวมทั้งงานธุรการกับหน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบ

(๓) ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการและประสานงาน  ต่าง ๆ ในระดับจังหวัด

(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารการเงิน บัญชี พัสตุ และสินทรัพย์ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการที่ได้รับมอบหมาย

(๕) ดำเนินการเกี่ยวกับระบบบริหารงาน การพัฒนาองค์กร และการควบคุมภายใน

(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมและผลงาน

(๗) ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อม และยานพาหนะ

(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ระบบติจิหัลเพื่อการบริหารและการบริการ

(๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับ

๒. กลุ่มบริหารงานบุคคล

(๑) จัดทำแผน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ

(๒) เสริมสร้างขวัญกำลังใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติ และสิทธิประโยชน์อื่นของข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในระดับจังหวัดมอบหมาย

(๓) พัฒนาเครือข่าย ระบบฐานข้อมูล และสารสนเทศของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาในระดับจังหวัด รวมถึงพัฒนาบุคลากรระดับจังหวัดของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง

(๔) สนับสนุน ประสาน วิจัย ให้ความเห็น และบูรณาการความร่วมมือ เกี่ยวกับการจัดระบบกลไกการบริหารทรัพยากรบุคคลพื้นที่รับผิดชอบ

(๕) ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

(๖) เสนอแนะเกี่ยวกับการพิจารณาวิทยฐานะ ความดีความชอบ การเสริมสร้างขวัญกำลังใจการยกย่องเชิดซูเกียรติ และสิทธิประโยซน์อื่น ๆ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

(๗) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านกฎหมาย นิติกรรม และงานคดีอื่น ๆ ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

(๘) ดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกขน พ.ศ.๒๕๕๐

(๙) จัดระบบ กลไก การสร้างองค์กรคุณธรรม และความโปร่งใส ระบบคุณธรรม และเครือข่ายต่อต้านการทุจริตของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

(๑๐) ดำเนินการให้บริการ รับเรื่องราวร้องเรียน ข้อเสนอแนะ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

(๑๑) ดำเนินการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียน ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และประชาชนผ่านระบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ

(๑๒) ดูแลและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริม ยกย่องและพัฒนาวิซาชีพ            ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ

(๑๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 ๓. กลุ่มนโยบายและแผน

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการบริหารราซการเชิงยุทธศาสตร์ รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) จัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดที่สอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ชาติ

(๓) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดและแผนปฏิบัติการของจังหวัดรวมทั้งติดตามประเมินผล และรายงานผลตามแผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดและแผนปฏิบัติการของจังหวัด

(๔) จัดทำแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด รวมทั้งติดตาม ประเมินผล

(๕) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด

(๖) พัฒนาระบบคลังข้อมูล ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และเครื่อข่ ายเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลการศึกษาระดับจังหวัด ที่คลอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันเพื่อการวางแผน การบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมินผลและรายงานผล

(๗) วิเคราะห์ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ และให้ข้อเสนอแนะหรือให้ข้อสังเกตการบริหารงบประมาณของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด

(๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๔. กลุ่มพัฒนาการศึกษา

(๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา รวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอำนาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ยุบ รวม เสิก เปลี่ยนชื่อ และโอนสถานศึกษาขั้นฟื้นฐาน

(๓) พัฒนาข้อมูล สถิติและสารสนเทศทางการศึกษาที่คลอบคลุม ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันด้วยเทศโนโลยีดิจิหัลเพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนาและแก้ปัญหาการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด

(๔) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัย การ จัดการศึกษาเพื่อคนพิการผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ และการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรายงานผล

(๕) ส่งเสริม สนับสนุน และบูรณาการการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา

(๖) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษา

(๗) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนากิจกรรมการศึกษา ทุนการศึกษา สถานศึกษาปลอดภัยเพื่อการพัฒนาผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

(๘) จัดระบบการประสาน สนับสนุน ช่วยเหลือ และการรายงานเหตุภัยพิบัติและภาวะวิกฤตทางการศึกษาในระดับจังหวัด

(๙) ส่งเสริม สนับสนุนและดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

(๑๐) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา

(๑๑) ส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษาเฉพาะกิจ เฉพาะกลุ่ม และเฉพาะพื้นที่

(๑๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ

๕. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล

(๑) ขับเคลื่อน ประสานงาน เร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ

(๒) ส่งเสริม สนับสนุน วิจัย และดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชา การ การนิเทศและแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

(๓) ประสานและสนับสนุนการตรวจราชการขของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

(๔) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการ จัดทำแผนการรองรับการตรวจราชการ และดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงในการตรวจราชการ

ติดตาม และประเมินผลตามนโยบายและแผนการตรวจราชการของกระทรวงมอบหมาย

(๕) ส่งเสริม วิจัย และพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(๖) กำกับ ติดตาม ประเมินผล นิเทศ และรายงานผลตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและยุทธศาสตร์ชาติ

(๗) บูรณาการ การติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด

(๘) จัดทำกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานในลักษณะ

ตัวชี้วัดร่วมการนิเทศการศึกษาของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษา

(๙) ขับเคลื่อนระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

(๑๐) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนารปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๖. กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน

(๑)  ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล และพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาเอกชน

(๒) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการศึกษาเอกชน

(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้ง ขยาย ย้าย โอน ยุบ รวม เลิก เพิกถอนควบคุม เปลี่ยนแปลงกิจการของสถานศึกษาเอกชนตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐

และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(๔) กำกับ ติดตาม และดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกิจการของโรงเรียน ประกอบด้วย หลักสูตร คณะกรรมการบริหารโรงเรียน การครอบครองที่ดิน และสวัสดิการครูโรงเรียนเอกชน

(๕) ประสาน ส่งเสริม ตดตาม ตรวจสอบ และจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเงินกองทุนสงเคราะห์ และสวัสดิการของสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา

(๖) ประสาน ส่งเสริม ตรวจสอบ และจัดทำข้อมูลสารสนเทศการศึกษาของสถนศึกษาเอกชนในจังหวัดและบริหารจัดการโดยใช้ระบบดิจิทัลเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ

(๗) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนระดับจังหวัดที่เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของ ปส.กช. โรงเรียนเอกชนในระบบ และ ปส.กช.โรงเรียนเอกขนนอกระบบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกขนมอบหมาย

(๘) ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน

(๙) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๗. กลุ่มลูกเสือ ยุวกาขาด และกิจการนักเรียน

(๑) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน และดำเนินการกิจการลูกเสือ ยุวกาขาด แสะกิจการนักเรียน

(๒) ส่งเสริม สนับสนุน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อการพัฒนานักเรียน นักศึกษา โดยผ่านกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาค

(๓) ส่งเสริมการป้องกัน แก้ไข และคุ้มครองความประพฤตินักเรียน นักศึกษา

(๔) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักเรียน นักศึกษา

(๕) ส่งเสริม สนับสนุน การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา พระราชปณิธานพระราชกระแสด้านการศึกษา และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับการศึกษา

(๖) ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และความปรองดอง สมานฉันท์

(๗) สร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรมจริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

(๘) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงนของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

๘. หน่วยตรวจสอบภายใน

(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชี ของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่รับผิดชอบ

(๒) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย