เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

Attachments:
Download this file (ประกาศแผน รถตู้.pdf)ประกาศแผน รถตู้.pdf[ ]262 kB289 Downloads

แนวทางในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อนปีการศึกษา 2565 เทอม 1

ให้หน่วยงาน/โรงเรียนดำเนินการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อน  ดังนี้

  1. เข้าเวบไซต์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์  http://www.nswpeo.go.th
  2. ดาวน์โหลดรายชื่อนักเรียนซ้ำซ้อน ที่หัวข้อ ตรวจสอบข้อมูลนักเรียนซ้ำซ้อนปีการศึกษา 2565 เทอม 1 (ดาวโหลดลงเครื่องตนเองเป็นไฟล์ Excel)
  3. ตรวจสอบนักเรียนซ้ำซ้อนและระบุผลการตรวจสอบในฟิวล์ “ผลการตรวจสอบใน Excel ดังนี้

                 01 : พบ เรียนปกติ

                 02 : พบ พักการเรียน

                 03 : พบ นักเรียนโครงการ

                 04  : ไม่พบ เนื่องจากไม่พบตัว

                 05  : ไม่พบ เนื่องจากจบการศึกษา

                 06  : ไม่พบ เนื่องจากย้ายโรงเรียนหรือลาออก

                 07  : ไม่พบ เนื่องจากติดต่อไม่ได้

                 08  : ไม่พบ เนื่องจากเสียชีวิต

                 99  : ไม่พบ กรณีอื่น ๆ   หากเลือกกรณี อื่นๆ ให้ใส่สาเหตุในฟิวล์ “สาเหตุที่ไม่พบเฉพาะอื่นๆ

  1. ส่งไฟล์ excel คืนสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์

                   ทาง Email.  This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ภายในวันที่ 19 สิงหาคม 2565

หากมีข้อสงสัย ติดต่อ-สอบถาม

โทร 063-2465265 นายเอกราช โฉมแก้ว นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

หน้าที่และอำนาจของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตามคำสั่งที่ 19/2560

๑) รับผิดชอบงานธุรการของ กศจ. อกศจ. คณะอนุกรรมการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา คณะอนุกรรมการและคณะทํางานรวมทั้งปฏิบัติงานราชการที่เป็นไปตามอํานาจและหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ. มอบหมาย

(๒) จัดทําแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการ
(๓) สั่งการ กํากับ ดูแล เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

(๔) จัดระบบ ส่งเสริม และประสานงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ

(๖) ดําเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนวการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา

(๘) ดําเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

(๙) ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬาเพื่อการศึกษา
(๑๐) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเอกชน
(๑๑) ปฏิบัติภารกิจตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการหรือตามที่ได้รับมอบหมายรวมทั้งปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับราชการประจําทั่วไปของกระทรวงศึกษาธิการ และประสานงานต่างๆในจังหวัด

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด โดยเรียกว่า กศจ.

  1. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
  2. กําหนดยุทธศาสตร์ แนวทางการจัดการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ประสานและส่งเสริมการบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย
  3. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการศึกษา
  4. พิจารณาและให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานและตัวชี้วัดในการดําเนินงานในลักษณะตัวชี้วัดร่วมของส่วนราชการหรือหน่วยงาน และสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  5. เสนอความเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค
  6. กํากับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  7. วางแผนการจัดการศึกษาและพิจารณาเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา
  8. เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคเพื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด
  9. แต่งตั้งอนุกรรมการหรือคณะทํางานตามความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ กศจ. ซึ่งอย่างน้อยต้องมีคณะอนุกรรมการการบริหารราชการเชิงยุทธศาสตร์ และคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษา โดยนำองค์ประกอบ อกศจ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
  10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคมอบหมาย

ให้มีคณะอนุกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า อกศจ.  เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศจ. ประกอบด้วย

  1. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. เป็นประธานอนุกรรมการ
  2. บุคคลซึ่ง กศจ. แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็น กศจ. จํานวนสองคน เปนอน ็ ุกรรมการ
  3. ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อํานวยการสถานศึกษา ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง กศจ. แต่งตั้ง จํานวนไม่เกินสามคน เป็นอนุกรรมการ
  5. ศึกษาธิการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

ให้การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมของ กศจ. อกศจ. รวมทั้งคณะอนุกรรมการและคณะทํางาน

เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ
การบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จําเป็นให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณ
ของสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ

คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาที่ตกมาอยู่ในอำนาจ กศจ.

มาตรา 36 ของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

1)      กำกับ ดูแล  จัดตั้ง  ยุบ  รวม  หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา 

 - กำกับ ดูแล สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 - จัดตั้ง ยุบรวม เลิกล้มสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

2)  ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษา

3)  ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

4) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา

5)      หน้าที่อื่นๆ ตามกฎหมายกำหนด เช่น

-  ม. 34 วรรคสาม ของพรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 ให้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-  ม. 39 (4) ของ พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 รับทราบรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา

-  ม.45 (6) ของ พรบ.ระเบียบบริหาร ศธ. 2546 ออกระเบียบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษามอบอำนาจให้ข้าราชการอื่นในสถานศึกษา

- ข้อ3 ของกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. 2547 พิจารณาอนุญาตให้ครอบครัวจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้บุคคลในครอบครัว

-  ข้อ 4 กฏกระทรวงการแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-   ข้อ 9 ของกฏกระทรวงเกี่ยวกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาให้ความเห็นชอบให้ สพท.ออกประกาศให้สถานศึกษาใดเป็นสถานศึกษาที่มีสภาพและลักษณะการปฏิบัติงานที่แตกต่างจากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยทั่วไป

-  ข้อ 7(4) ของกฎกระทรวงเกี่ยวกบคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลและนิเทศฯเขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาและลงมติให้คณะกรรมการฯพ้นจากตำแหน่งกรณีมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องต่อหน้าที่

-  มาตรา5 ของ พรบ.การศึกษาภาคบังคับ  ให้ประกาศรายละเอียดการส่งเด้กเข้าเรียน และจัดสรรโอกาสการเข้าเรียน มาตรา7 รับรายงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินการให้เด้กเข้าเรียน

-  มาตรา 12 ของ พรบ.การศึกษาภาคบังคับ  จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กบกพร่องฯ  เด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส เด็กสามารถพิเศษ รวามทั้งจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นฯให้กับเด็กดังกล่าวด้วย

-  ข้อ5 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใน สพท. ให้ความเห็นชอบแบ่งส่วนราชการใน สพท.เป็นกลุ่มงานต่างๆ  เป็นต้น

 กำหนดการเรียนรู้ นครสวรรค์เรียนรู้ออนไลน์ 2565 วิชาสังคมศึกษา

                  การพัฒนางาน(PA)ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะสู่การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21: นวัตกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา

 วันที่ 4-5 เมษายน 2565 

ไลน์โอเพ่นแชท สำหรับผู้ที่มีรายชื่อเข้าร่วมการอบรม วิชาสังคมศึกษา

หรือ

คุณได้รับคำเชิญให้เข้าร่วม "วิชาสังคมศึกษา นครสวรรค์ศึกษาออนไลน์" โปรดแตะลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมโอเพนแชทนี้
https://line.me/ti/g2/-25fxRHLC-yeC7yVW3NeOCZ62hXt54tnnK3hoQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default 

วิสัยทัศน์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ มุ่งส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับ
และทุกประเภทให้มีคุณภาพ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยยึดหลักธรรมาภิบาลบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา
2. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาปลูกฝังผู้เรียนโดยเน้นความรู้ คู่คุณธรรม และการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. ส่งเสริม สนับสนุน ประชากรได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาค เท่าเทียมทุกช่วงวัย
5. ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
3. ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะการปฏิบัติงานในศตวรรษที่ 21
4. สถานศึกษาปลูกฝังผู้เรียนโดยเน้นความรู้ คู่คุณธรรม และการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5. ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเสมอภาคด้วยรูปแบบ ที่หลากหลาย
6. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล